เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้.
จบติสสเมตเตยยมาณวกปัญหานิทเทสที่ 2

อรรถกถาติสสเมตเตยยมาณวกปัญหานิทเทสที่ 2


พึงทราบวินิจฉัยในติสสเมตเตยยสุตตนิทเทสที่ 2 มีบทเริ่มต้นว่า
โกธ สนฺตุสิโต ใครยินดีแล้วในโลกนี้ ดังนี้.
ก็เมื่อ อชิตสูตร1จบแล้ว โมฆราชมาณพเริ่มจะทูลถามอย่างนี้ว่า
มัจจุราชย่อมไม่เห็นผู้พิจารณาเห็นโลกอย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ทราบว่า อินทรีย์ของโมฆราชมาณพนั้นยังไม่แก่พอ จึงตรัสห้ามว่า
หยุดก่อนโมฆราช คนอื่นจงถามเถิด. ลำดับนั้น ติสสเมตเตยยะเมื่อจะ
ทูลถามความสงสัยของตน จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า โกธ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า โกธ สนฺตุสิโต คือ ใครยินดีแล้วในโลกนี้.
บทว่า อิญฺชิตา ความหวั่นไหว คือความดิ้นรนด้วยตัณหาและทิฏฐิ.
บทว่า อุภนฺตมภิญฺญาย คือ ใครรู้ส่วนสุดทั้งสอง. บทว่า มนฺตา น
ลิมฺปติ
คือ ย่อมไม่ติดด้วยปัญญา. บทว่า ปริปุณฺณสงฺกปฺโป มีความ
ดำริบริบูรณ์ คือมีความปรารถนาบริบูรณ์ด้วยเนกขัมมวิตกเป็นต้น. บทว่า
ตณฺหิญฺชิตํ คือ ความหวั่นไหวเพราะตัณหา. แม้ในความหวั่นไหว
เพราะทิฏฐิเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า กามิญฺชิตํ ความหวั่นไหว
เพราะกาม คือความหวั่นไหวดิ้นรนเพราะกิเลสกาม. ปาฐะว่า กมฺมิญฺชิตํ
บ้าง. บทนั้นไม่ดี บุรุษใหญ่ ชื่อว่า มหาบุรุษ. บุรุษสูงสุด ชื่อว่า
1. อรรถกถาใช้คำว่า สูตร แทนปัญหา ทั้ง 16 ปัญหา.

อัครบุรุษ. บุรุษเป็นประธาน ชื่อว่า เสฏฐบุรุษ. บุรุษไม่ลามก ชื่อว่า
วิสิฏฐบุรุษ. บุรุษผู้ใหญ่ชื่อว่า ปาโมกขบุรุษ. บุรุษไม่ต่ำ ชื่อว่าอุตตมบุรุษ.
บุรุษผู้ถึงความเป็นยอดของบุรุษ ชื่อว่า เป็นบุรุษประธาน. บุรุษผู้อันคน
ทั้งหมดต้องการ ชื่อว่า บวรบุรุษ. บทว่า สิพฺพนิมจฺจคา คือ ล่วง
ตัณหาอันเป็นเครื่องเย็บ. บทว่า อุปจฺจคา คือ ล่วงตัณหา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงพยากรณ์ความนั้นแก่ติสสเมตเตยย-
มาณพนั้น จึงตรัสสองคาถาว่า กาเมสุ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า กาเมสุ พฺรหฺมจริยวา ภิกษุมีพรหมจรรย์
ในเพราะกามทั้งหลาย คือมีพรหมจรรย์มีกามเป็นนิมิต. อธิบายว่า เห็น
โทษในกามทั้งหลาย แล้วประกอบด้วยมรรคพรหมจรรย์ ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความเป็นผู้สันโดษ. ทรงแสดงความ
เป็นผู้ไม่หวั่นไหว. ด้วยบทมีอาทิว่า วีตตณฺโห คือ เป็นผู้ปราศจากตัณหา.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขาย นิพฺพุโต พิจารณาแล้วดับ คือพิจารณาธรรม
ทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นแล้ว ดับด้วยการดับราคะ
เป็นต้น. บทว่า อสทฺธมฺมสมาปตฺติยา ความถึงพร้อมด้วยอสัทธรรม
คือประกอบด้วยธรรมต่ำ. บทว่า อารตี ความงด คือ ไกลความยินดี.
บทว่า วิรติ ความเว้น คือเว้นจากความยินดีนั้น. บทว่า ปฏิวิรติ ความ
เว้นขาด คือเว้นขาดจากความยินดีนั้น. บทว่า เวรมณี ความขับไล่เวร
คือให้เวรพินาศไป. บทว่า อกิริยา กิริยาที่ไม่กระทำ คือตัดขาดกิริยา.
บทว่า อกรณํ ความไม่ทำ คือตัดขาดการกระทำ. บทว่า อนชฺฌาปตฺติ
คือ ความไม่ต้อง. บทว่า เวลาอนติกฺกโม คือ ความไม่ล่วงแดน บทที่
เหลือชัดดีแล้ว เพราะมีนัยได้กล่าวไว้แล้วในที่นั้น ๆ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือ
พระอรหัตด้วยประการฉะนี้. เมื่อจบเทศนา พราหมณ์แม้นี้พร้อมด้วย
อันเตวาสิกหนึ่งพันได้ตั้งอยู่ในพระอรหัต. ธรรมจักษุเกิดขึ้นแล้วแก่ชน
เหล่าอื่นอีกหลายพัน บทที่เหลือเช่นเดียวกันกับบทก่อนนั้นแล.
จบอรรถกถาติสสเมตเตยยมาณวกปัญหานิทเทสที่ 2

ปุณณกมาณวกปัญหานิมเทส


ว่าด้วยปัญหาของท่านปุณณกะ


[116] (ท่านปุณณกะทูลถามดังนี้ว่า)
ข้าพระองค์มีความประสงค์ด้วยปัญหา จึงมาเฝ้า
พระองค์ผู้ไม่มีตัณหาเครื่องหวั่นไหว ผู้เห็นมูล ฤาษี
มนุษย์ กษัตริย์ และพราหมณ์เป็นอันมากในโลกนี้อาศัย
อะไร จึงพากันแสวงหายัญให้แก่เทวดาทั้งหลาย ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอ
พระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

[117] คำว่า ผู้ไม่มีตัณหาเครื่องหวั่นไหว ผู้เห็นมูล ความว่า
ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล เรียกว่า
ความหวั่นไหว ตัณหาอันเป็นความหวั่นไหวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละขาดแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดุจตาล
ยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะ-
เหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าไม่มีความหวั่นไหว. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ชื่อว่า อเนชะ เพราะพระองค์ทรงละตัณหาเครื่องหวั่นไหวขาดแล้ว ย่อม
ไม่ทรงหวั่นไหวเพราะลาภ แม้เพราะความเสื่อมลาภ แม้เพราะยศ แม้
เพราะความเสื่อมยศ แม้เพราะสรรเสริญ แม้เพราะนินทา แม้เพราะสุข
แม้เพราะทุกข์ ... ไม่หวั่น ไม่ไหว ไม่คลอนแคลน เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า อเนชะ.